วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

รายงานผลการใช้กิจกรรมการละเล่นของไทย เพื่อ พัฒนาความพร้อม ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันป่าเหียง

รายงานผลการใช้กิจกรรมการละเล่นของไทย เพื่อ พัฒนาความพร้อม ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันป่าเหียง

3:12 pm ใน บทคัดย่อ โดย aorry
ชื่อเรื่องการศึกษา : รายงานผลการใช้กิจกรรมการละเล่นของไทย เพื่อ พัฒนาความพร้อม ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันป่าเหียง
ผู้ทำการศึกษา : นางชลธิชา ปัญญาวงค์
ปีที่ทำการศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของกิจกรรมการละเล่นของไทย เปรียบเทียบความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นของไทยรวมทั้งเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมโดยการใช้การละเล่นของไทย ประชากรที่ทำการศึกษา คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันป่าเหียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 ปีการศึกษา 2551 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 14 คน ใช้ระยะเวลาทำการศึกษาจำนวน 17 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์ประกอบกิจกรรมการละเล่นของไทย จำนวน 32 แผน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน มีการใช้เทคนิค E1/E2และการหาค่าดัชนีประสิทธิผลในการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการละเล่นของไทย ใช้การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนในการหาผลของการใช้กิจกรรมการละเล่นของไทย นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการคำนวณความพึงพอใจของเด็กต่อกิจกรรมการละเล่นของไทย จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการละเล่นของไทยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.18/83.57 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 0.50 นอกจากนี้เด็กมีความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้น เพราะเด็กกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกคน รวมทั้งเด็กมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการละเล่นของไทยในระดับมาก ดังนั้น การใช้กิจกรรมการละเล่นของไทยในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ทำให้พัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กสูงขึ้น เด็กมีความสุขและมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ประจำวันระดับปฐมวัยการศึกษา

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ประจำวันระดับปฐมวัยศึกษา

Filed Under (บทความเชิงวิชาการ) by wattana on 06-07-2009

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ประจำวันระดับปฐมวัยศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนา  ปุญญฤทธิ์

แผนการจัดประสบการณ์รายวัน (daily plan) เป็นการวางแผนการสอนรายวันที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัยผ่านการกำหนดกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้เด็กปฏิบัติและได้รับประสบการณ์  อันจะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์รายวันจะนำสาระที่ควรเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญที่กำหนดเป็นหน่วยบูรณาการ (unit plan)  นำมาออกแบบเป็นแผนการจัดการประสบการณ์รายสัปดาห์ (weekly plan) มาวางแผนการจัดประสบการณ์แต่ละวันในกิจกรรมประจำวัน ซึ่งแผนการจัดประสบการณ์นั้นจะยึดหลักความสอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์ของหน่วยบูรณาการที่กำหนดไว้ในตอนต้น
หัวข้อของแผนการจัดประสบการณ์รายวัน ประกอบด้วย
ชื่อกิจกรรม
เรื่อง
ระดับชั้นและเวลา
สาระสำคัญ
จุดประสงค์
เนื้อเรื่อง
กิจกรรม
สื่อและแหล่งเรียนรู้
การประเมินผล
บันทึกผลหลังสอน
กิจกรรมสนับสนุน
ทั้งนี้มีรายละเอียดของแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้
ชื่อกิจกรรม ให้ระบุลักษณะของกิจกรรมนั้นว่าเป็นกิจกรรมใด เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ ฯลฯ การระบุชื่อกิจกรรม ทำให้เกิดความชัดเจน ว่ากิจกรรมนั้น มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างใด และจะนำไปสู่การส่งเสริมพัฒนาการด้านใดของผู้เรียน  ทั้งนี้การกำหนดชื่อกิจกรรมทำให้ผู้เขียนแผนสามารถจัดกิจกรรมไปตามหลักการจัดกิจกรรมนั้นๆ และเกิดความชัดเจนว่าผู้เรียนจะได้รับพัฒนาการและเกิดประสบการณ์สำคัญด้านใด เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ด้านการคิด และทักษะพื้นฐานทางการเรียน การสร้างความรู้ ถ้าเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์สำคัญทางกาย เป็นต้น
ชื่อเรื่อง การระบุชื่อเรื่องเป็นการนำหัวข้อเรื่องที่ได้จากการระดมความคิดเห็นร่วมกัน ระหว่างครูกับผู้เรียนมากำหนดโดยให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญของหน่วยบูรณาการ เพิื่อแสดงทิศทางและสาระสำคัญของกิจกรรมที่จะจัดต่อไป
ตัวอย่างเช่น     หน่วยบูรณาการเรื่อง เมล็ดพืช
ชื่อกิจกรรม  เสริมประสบการณ์
เรื่อง  การเพาะเมล็ดถั่วเขียว
ระดับชั้นและเวลา  การระบุระดับชั้นเรียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์  เป็นสิ่งที่แสดงถึงความยาก ง่าย ของกิจกรรมที่สัมพันธ์กับพัฒนาการและขีดความสามารถของผู้เรียน  และแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพที่มี  ส่วนระยะเวลาจะสัมพันธ์กับลักษณะกิจกรรม และขอบเขตความสามารถในการทำกิจกรรมในช่วงเวลานั้นๆ
ตัวอย่างเช่น  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ของเด็กอนุบาลวัย 5 ปี ใช้ระยะเวลาประมาณ 20  นาที  แต่ทั้งนี้ระยะเวลาที่กำหนด ต้องสอดคล้องกับแบบของกิจกรรมนั้นๆด้วย  ถ้ากิจกรรมนั้นออกแบบให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติการ    ทดลอง เช่น การออกแบบให้ผู้เรียนทดลองเพาะเมล็ดถั่วเขียวในกะบะทราย เปรียบเทียบกับการทดลองเพาะใน   กะบะเปล่า โดยใช้ผ้าคลุม การออกแบบกิจกรรมเช่นนี้  อาจต้องใช้เวลาให้เพียงพอกับการปฏิบัติจริง ซึ่งมากกว่าเวลา 20 นาที อาจเป็น 30 – 40 นาที  เป็นต้น
สาระสำคัญ เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในด้านมโนภาพของเรื่องนั้นๆ หลังจากได้ทำ
กิจกรรมไป  ทั้งนี้การเขียนสาระสำคัญ สามารถเขียนได้ 4  ลักษณะ คือ
1.  การเขียนสาระสำคัญที่อธิบายหรือให้ความหมายของสิ่งที่เรียน
2.  การเขียนสาระสำคัญที่ระบุความเป็นจริงหรือลักษณะ หรือคุณสมบัติของสิ่งที่เรียนหรือสถานการณ์นั้นๆ
3.  การเขียนสาระสำคัญที่ระบุถึงความสำคัญของสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้นๆ
4.  การเขียนสาระสำคัญที่ระบุถึงประโยชน์หรือการนำไปใช้ของสิ่งที่เรียน
โดยการเลือกเขียนสาระสำคัญจะต้องเลือกวิธีเขียนให้เหมาะสมกับเรื่องและกิจกรรมที่ออกแบบไว้ เช่น เรื่อง “การเพาะเมล็ดถั่วเขียว” การเขียนสาระสำคัญควรจะเลือกเขียนในแบบที่ 2 ที่แสดงถึงลักษณะของสถานการณ์นั้นๆที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงขั้นตอนการเพาะเมล็ดถั่วเขียว
จุดประสงค์  การเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดประสบการณ์รายวันนี้  เป็นการกำหนดจุดประสงค์ระดับกิจกรรม ทั้งนี้จะกำหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือไม่ก็ได้  การเขียนจุดประสงค์จะต้องสอดคล้องกับสาระสำคัญที่ระบุไว้ในตอนต้น  แล้วนำมากำหนดเป็นจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์ในครั้งนี้  ครอบคลุมความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ  ในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยหรือทักษะพิสัย ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแต่ต้องสอดคล้องกับแบบของกิจกรรมและเวลาที่กำหนดไว้  เช่น กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง  จุดประสงค์ก็ควรเป็นจุดประสงค์ที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สำคัญทางกาย  แต่หากกิจกรรมกลางแจ้งนั้น จัดให้เล่นเกมที่มีกติกาประกอบด้วย  จุดประสงค์จะกำหนดเป็นจุดประสงค์ด้านทักษะพิสัย คือ คล่องแคล่วว่องไวของการเคลื่อนไหวร่างกายรวมทั้งจุดประสงค์ทางด้านจิตพิสัย คือ การปฏิบัติตนตามข้องตกลงกติกาในการเล่น เป็นต้น  ข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งของการเขียนจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์แต่ละครั้งควรกำหนดจุดประสงค์ที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาและแบบของกิจกรรมที่กำหนดไว้  ไม่ควรกำหนดจุดประสงค์หลายข้อเกินไปเพราะยากที่จะให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาในหลายๆอย่างเกินกว่าจะทำได้ในเวลาที่จำกัด การเขียนจุดประสงค์ที่ดี คือ กำหนดให้ชัดเจน เหมาะกับแบบของกิจกรรม อยู่ในระดับของคุณลักษณะตามวัยของผู้เรียน และสามารถวัดหรือประเมินได้ว่า ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์จากกิจกรรมที่ให้ปฏิบัตินั้น
เนื้อเรื่องหรือสาระการเรียนรู้  เป็นการนำเรื่องที่กำหนดไว้มาให้รายละเอียดที่ครอบคลุมสาระสำคัญที่ระบุไว้  การเขียนส่วนของเนื้อเรื่องต้องมีความง่าย ชัดเจน และเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งครูจะต้องมีความรู้ในสิ่งนั้นๆ  และนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาที่สื่อสารและทำความเข้าใจกับผู้เรียนได้เหมาะสม  การเขียนเนื้อเรื่องจะไม่มากจนกลายเป็นการสอนเนื้อหา แต่ไม่สั้นจนไม่มีสาระเพียงพอที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมได้  การกำหนดเนื้อหาสาระในระดับการศึกษาปฐมวัยนั้น มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อที่จะนำผู้เรียนไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม  เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง ไม่ได้จัดเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนต้องท่องจำหรือจดจำสาระเนื้อหานั้นๆ สำหรับเนื้อหาที่เป็นสาระที่จะนำไปใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมระดับปฐมวัยนั้น มี 3 ระดับ คือ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง  เนื้อหาที่กระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดการคิดไตร่ตรองและเนื้อหาที่กลั่นกรองเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ  ดังนั้น การกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรเริ่มจากการกำหนดเนื้อหาที่มาสู่การจัดกิจกรรมให้เด็กได้รู้ เข้าใจถึงความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป
กิจกรรม เป็นการกำหนดสิ่งที่ได้วางแผนร่วมกับผู้เรียน  ให้ผู้เรียนปฏิบัติได้รับประสบการณ์ที่นำไปสู่ผลที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์  การกำหนดกิจกรรมมีจุดเน้นที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม และได้เรียนในสิ่งที่สนใจ  ดังนั้น การออกแบบกิจกรรมครูจะต้องมีการเตรียมการทั้งด้านวิธีการ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม การกำหนดกิจกรรมจะมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นนำ  เป็นการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนสิ่งใหม่  โดยการสร้างความสนใจและความต้องการให้ผู้เรียนอยากรู้หรือต้องการที่จะเรียน  รวมทั้งการตรวจสอบประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
ขั้นทำกิจกรรม เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ออกแบบไว้  โดยครูจะใช้เทคนิคการกระตุ้น สนับสนุน และเสริมแรง  ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมจนจบ และเกิดผลการเรียนรู้
ขั้นสรุป เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนร่วมกันสรุปถึงผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับสาระสำคัญที่ระบุไว้  อันแสดงถึงผลการจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ
สื่อและแหล่งเรียนรู้  การกำหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ต้องเป็นไปตามที่ออกแบบกิจกรรมไว้และหากเป็นสื่อที่ใช้ประกอบการปฏิบัติ  จะต้องมีปริมาณที่เพียงพอกับผู้ปฏิบัติ  กรณีที่ใช้แหล่งเรียนรู้  จะต้องระบุรายละเอียดของแหล่งเรียนรู้ให้ชัดเจน
การประเมินผล  เป็นการระบุวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลผู้เรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในตอนแรก  เช่น กำหนดจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต ของผู้เรียน การประเมินผลจะใช้วิธีประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมขณะที่ทำกิจกรรมของผู้เรียน  ส่วนเครื่องมือคือแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน  เป็นต้น
บันทึกผลหลังสอน  เป็นการบันทึกใน 2 ลักษณะ คือ บันทึกผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนถึงการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งเป็นการบันทึกผลการปฏิบัติของผู้สอนถึงการใช้แผนการจัดประสบการณ์ว่ามีปัญหาอุปสรรคใดหรือไม่  เพื่อนำไปปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์ในครั้งต่อไป
กิจกรรมสนับสนุน  ในบางเรื่องการทำกิจกรรมอาจไม่สิ้นสุดในเวลาที่กำหนด  หรือมีเรื่องที่น่าสนใจเพิ่มเติม  หรือต้องการให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมต่อเนื่อง  อาจกำหนดกิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติมได้อีก
จะเห็นได้ว่า  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์นั้น  มีจุดเน้นในเรื่องของความสอดคล้องสัมพันธ์กันในทุกส่วน  การสอนที่ดีนั้น  นอกจากผู้สอนจะเลือกกลยุทธ์การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแล้ว  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ล่วงหน้าที่ดี  จะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้อย่างราบรื่น และเกิดผลตามที่กำหนดไว้
…………………………………………………………
เอกสารอ้างอิง
วรนาท รักสกุลไทย.(2547). ประมวลสาระขุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย.หน่วยที่ 6 . นนทบุรี :             สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัฒนา  ปุญญฤทธิ์. (2552). การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการฝึกหัดครู.
Warner,L.and J.Sower.(2005) Educating young children from preschool through primary grade.
New York : Pearson Education, Inc.

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย

นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

การตกแต่งบล็อก(blogspot , gotoknow)ของตนเอง
วันนี้ก็ได้เข้าไปใส่ประวัติส่วนตัวของตนเอง เข้าไปใส่web linkมีทั้งหมด 10web แต่งต้องไปหาเว็บต่างๆใน Google
การปรับแต่งเว็บไซต์ส่วนตัว
วันนี้ก็ได้เข้าไปใส่ประวัติส่วนตัว ปรับแต่งข้อมูลให้ต่างๆให้สมบูรณ์ เช่น การใส่VDO การใส่รูปภาพ การใส่เพลง และการใส่เว็บลิงค์ต่างๆ
การปรับเว็บสืบค้นของตนเอง
วันนี้ก็เข้าไปเพิ่มแต่ tab Edutainment เท่านั้นเพราะอย่างอื่นทำหมดแล้วในวันที่อาจารย์สั่งเลยทำเพียงอย่างเดียว
การเขียนบทความลงในบล็อกและเว็บไซด์ของตนเอง
การเขียนบทความก็จะไปcopy จากเว็บGoogle แล้วนำมาวางและcopyอ้างอิงด้วยแล้วนำมาวางและต้องนำลิงค์มาด้วยก็เป็นอันเสร็จ

นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่การศึกษาที่แท้

ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ โดยที่ในภาษาอังกฤษคำกริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”

นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย “วิถีคิด” ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก “ร่อง” หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบหลังนี้จึงเป็นความรู้ชนิดที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา เป็นความรู้ที่มีบริบท (context-riched) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์หรืออิงอยู่กับบริบทใดๆ (contextless) การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อนโดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นหลัก เรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น การเรียนรู้ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบอุปสงค์ (demand-side learning) คือ มีความประสงค์ มีความต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง แล้วจึงเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบที่เราคุ้นเคยกันดีในระบบการศึกษา ที่มักจะเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียน คือจากผู้รู้ไปสู่ผู้เรียน คือมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบอุปทาน (supply-side learning) ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูต้องคอยป้อน(ยัด) ความรู้เหล่านี้เข้าปาก(หัว) ผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะใช้การประเมิน การวัดผล หรือการสอบ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ “ผลัก” หรือ “ดัน” ให้คนหันมาสนใจตั้งใจเรียน การเรียนรู้แบบนี้ครูจึงมีหน้าที่หลักในการ “ผลัก” หรือ “push” ให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้เรียน “ฉุด” หรือ “ดึง” (pull) ตัวเองไปโดยใช้ความสนใจหรือความต้องการที่จะเรียนรู้เป็นตัวดึง ซึ่งก็คือแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาออกแรงผลัก ออกแรงดันดังเช่นที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้

การเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะสร้างมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต จนอาจเข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสเลยทีเดียว ในขณะที่กระบวนทัศน์เดิมจะมองงานด้วยสายตาที่คับแคบกว่ามาก คือมองเห็นงานว่าเป็นเรื่องของการทำมาหากินประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้เงินมาสำหรับจับจ่ายใช้สอยเพียงเท่านั้น ผู้ที่คิดเช่นนี้ มักจะเห็นงานว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่ต้องทนทำไป เพียงเพื่อให้ได้เงินมาจึงจะมีความสุข หลายคนถึงกับบ่นกับตัวเองว่า เมื่อไรจะถึงวันหยุด เมื่อไรจะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ (สำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือรับราชการ) ซึ่งการคิดแบบนี้จะเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ “ขาดทุน” ไปทุกๆสัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานไป 5 วัน โดยที่รู้สึกสุขได้เพียงแค่ 2 วัน เรียกว่าต้องขาดทุนสะสมไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์ แต่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ที่มองเห็นงาน ปัญหา และชีวิตว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า “ความสุขที่แท้ มีอยู่แต่ในงาน”

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผลสำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี
http://www.kmi.or.th/document/LearnInnovation.doc

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา

การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก จัดประสบการณ์ให้เด็กได้เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน เช่น ทักษะทางภาษา ........... .....
 
ปัจจุบันการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสถานเลี้ยงเด็กที่ได้มาตรฐาน มีพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ เข้าใจ  ความต้องการ พัฒนาการเด็กจะส่งผลให้เด็กได้รับความรัก  ความอบอุ่น  ความมั่งคงทางจิตใจ      เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข   หนังสือสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี  มีความสุข  มองโลกในแง่ดีและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้    
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย 
การที่ครูอ่านคำกลอนให้เด็กฟังแล้วให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์จากคำกลอนโดยครูมีคำถามมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้วยนั้น    เป็นการส่งเสริมการแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   นอกจากนี้กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กได้ เด็กในวัยนี้ชอบวาดภาพเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้จะยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ แต่เขาสามารถวาดภาพบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของเขาให้เรารับรู้ได้อย่างละเอียด โดยผ่านวิธีการวาดภาพ เพราะในการวาดภาพของเด็กนั้นมักสะท้อนถึงเรื่องราวที่เขาสนใจ
                        จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไป ครูมักจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครูยังเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด เน้นครูเป็นศูนย์กลาง  ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองพฤติกรรมที่ครูเป็นผู้ริเริ่ม การนำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาใช้กับเด็ก ครูยังคิดเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลาและตัวครูยังขาดทักษะบางประการที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กโดยผ่านละครสร้างสรรค์อีกด้วย ในทำนองเดียวกันการนำกิจกรรมการวาดภาพมาใช้กับเด็กปฐมวัย ครูส่วนมากจะเน้นที่การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา  ในลักษณะประสาทสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามเป็นหลักและมองข้ามการใช้การวาดภาพเสริมกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ
สำหรับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้  กระทำ  เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน  ควรเลือกประสบการณ์ที่ใกล้ตัวเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก  อีกทั้งต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล  เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจก็จะตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้อย่างสนุกสนาน  ยิ่งไปกว่านั้นควรจัดประสบการณ์ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ในหลายรูปแบบ  เช่น  การปฏิบัติการทดลอง  การนำไปทัศนศึกษา  การเล่นบทบาทสมมติ  การเล่นเป็นกลุ่มและเดี่ยว  ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน  นอกจากนี้การจัดหน่วยประสบการณ์ให้กับเด็กนิยมจัดในรูปของกิจกรรมต่างๆ  คือ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม  กิจกรรมในวงกลม  กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งและเกมการศึกษา  ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาแก่เด็กว่าเป็นวิธีที่เด็กได้ฝึกทักษะการมองจากซ้ายไปขวา  การลากตัวอักษรจากบนลงล่าง  และการจำเครื่องหมายต่างๆ  ตลอดจนการสร้างสมุดเล่มใหญ่  (Big Book)  จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดจินตนาการทบทวนความจำ  ได้แสดงออกตามความสามารถของแต่ละคน  อีกทั้งได้ใช้กล้ามเนื้อและสายตาอย่างประสานสัมพันธ์กัน  มีการถ่ายโยงการเรียนรู้ซึ่งกันและกันขยายความรู้ความคิดแก่กัน  ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้  และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน 

เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา

การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก จัดประสบการณ์ให้เด็กได้เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน เช่น ทักษะทางภาษา ........... .....
 
ปัจจุบันการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีสถานเลี้ยงเด็กที่ได้มาตรฐาน มีพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ เข้าใจ  ความต้องการ พัฒนาการเด็กจะส่งผลให้เด็กได้รับความรัก  ความอบอุ่น  ความมั่งคงทางจิตใจ      เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข   หนังสือสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี  มีความสุข  มองโลกในแง่ดีและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้    
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย 
การที่ครูอ่านคำกลอนให้เด็กฟังแล้วให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์จากคำกลอนโดยครูมีคำถามมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ด้วยนั้น    เป็นการส่งเสริมการแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   นอกจากนี้กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กได้ เด็กในวัยนี้ชอบวาดภาพเป็นชีวิตจิตใจถึงแม้จะยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ แต่เขาสามารถวาดภาพบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของเขาให้เรารับรู้ได้อย่างละเอียด โดยผ่านวิธีการวาดภาพ เพราะในการวาดภาพของเด็กนั้นมักสะท้อนถึงเรื่องราวที่เขาสนใจ
                        จากสภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไป ครูมักจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ ครูยังเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด เน้นครูเป็นศูนย์กลาง  ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองพฤติกรรมที่ครูเป็นผู้ริเริ่ม การนำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาใช้กับเด็ก ครูยังคิดเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลาและตัวครูยังขาดทักษะบางประการที่จะส่งเสริมการแสดงออกของเด็กโดยผ่านละครสร้างสรรค์อีกด้วย ในทำนองเดียวกันการนำกิจกรรมการวาดภาพมาใช้กับเด็กปฐมวัย ครูส่วนมากจะเน้นที่การพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา  ในลักษณะประสาทสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงามเป็นหลักและมองข้ามการใช้การวาดภาพเสริมกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจ
สำหรับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  คำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลัก  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้  กระทำ  เพื่อส่งเสริมพัฒนาทุกด้าน  ควรเลือกประสบการณ์ที่ใกล้ตัวเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก  อีกทั้งต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล  เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจก็จะตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้อย่างสนุกสนาน  ยิ่งไปกว่านั้นควรจัดประสบการณ์ให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ในหลายรูปแบบ  เช่น  การปฏิบัติการทดลอง  การนำไปทัศนศึกษา  การเล่นบทบาทสมมติ  การเล่นเป็นกลุ่มและเดี่ยว  ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน  นอกจากนี้การจัดหน่วยประสบการณ์ให้กับเด็กนิยมจัดในรูปของกิจกรรมต่างๆ  คือ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม  กิจกรรมในวงกลม  กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งและเกมการศึกษา  ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาแก่เด็กว่าเป็นวิธีที่เด็กได้ฝึกทักษะการมองจากซ้ายไปขวา  การลากตัวอักษรจากบนลงล่าง  และการจำเครื่องหมายต่างๆ  ตลอดจนการสร้างสมุดเล่มใหญ่  (Big Book)  จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดจินตนาการทบทวนความจำ  ได้แสดงออกตามความสามารถของแต่ละคน  อีกทั้งได้ใช้กล้ามเนื้อและสายตาอย่างประสานสัมพันธ์กัน  มีการถ่ายโยงการเรียนรู้ซึ่งกันและกันขยายความรู้ความคิดแก่กัน  ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้  และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน